×
แชทกับหน่วยงาน
เทศบาลตำบลบะหว้า
ยินดีให้บริการค่ะ....
 
เทศบาลตำบลบะหว้า info_outline ข้อมูลการติดต่อ
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลบะหว้า อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
place เกี่ยวกับหน่วยงาน
ประวัติความเป็นมา
ตำบลบะหว้าประกอบไปด้วยหลายชนเผ่า เช่น ชนเผ่าย้อเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือชนเผ่าโย้ย และไทยลาวรวมกัน ถิ่นเดิมของชาวตำบลบะหว้าอยู่ที่บ้านนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม เป็นชนเผ่าย้อ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2445 ชาวบ้านบะหว้าจึงได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากความแห้งแล้งทำให้อดยาก ไม่พออยู่พอกิน ชาวบ้านบะหว้าจึงได้อพยพเดินทางมาทางทิศตะวันตกของบ้านนาหว้า ประมาณ 12 กิโลเมตร โดยการนำของ นายสุทา ติงมหาอินทร์, นายหวาด ดีวันไชย, นายแตง ดันมีแก้ว, นายเป้อะ ใครศรี, นายสุ ดวงสุภา และนายจันทร์ ดวงสุภา มาพบเห็นที่อุดมสมบูรณ์เป็นป่าหญ้าเลยตกลงกันอยู่ที่นี่ตั้งชื่อว่า บ้านบะหว้า อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เดิมตำบลบะหว้าขึ้นอยู่กับตำบลโพนแพง ปี พ.ศ. 2525 ได้แยกออกจากตำบลโพนแพง มีอยู่ทั้งหมด 6 หมู่บ้าน คือ บ้านวังม่วง, บ้านบะหว้า, บ้านบะยาวใหญ่, บ้านเม่นน้อย, บ้านบะยาวน้อยและบ้านสี่แยกบริบูรณ์ มีนายสมพร ดวงสุภา เป็นกำนันตำบลบะหว้าคนแรก ต่อมา ปี พ.ศ. 2542 บ้านบะหว้าหมู่ 2 ได้แยกออกเป็น บ้านบะหว้า หมู่ 7 ปี พ.ศ. 2543 บ้านวังม่วงหมู่ 1 ได้แยกหมู่บ้านเป็นบ้านวังม่วงหมู่ 8 และปี พ.ศ. 2545 บ้านบะหว้าหมู่ 7 ได้แยกออกเป็นบ้านบะหว้าหมู่ 9 ในเขตเทศบาลตำบลบะหว้า มีประชากรประมาณ 6,834 คน ชาย 3,450 คน หญิง 3,384 คน จากจำนวนครัวเรือน 2,237 ครัวเรือน #(ข้อมูล : งานทะเบียนราษฎร์ ณ.วันที่ 22 พฤษภาคม 2568) ปัจจุบัน ตำบลบะหว้า มี 9 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 1 วังม่วง หมู่ที่ 2 บ้านบะหว้า หมู่ที่ 3 บ้านบะยาวใหญ่ หมู่ที่ 4 บ้านเม่นน้อย หมู่ที่ 5 บ้านบะยาวน้อย หมู่ที่ 6 บ้านสี่แยกบริบูรณ์ หมู่ที่ 7 บ้านบะหว้า หมู่ที่ 8 บ้านวังม่วง หมู่ที่ 9 บ้านบะหว้า อาณาเขตการปกครองที่ตั้งตำบลบะหว้า ทิศเหนือ จดตำบลอากาศ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร ทิศใต้ จดตำบลเชิงชุม อำเภอพรรณานิคม จังหวดัดสกลนคร ทิศตะวันออก จดตำบลนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ทิศตะวันตก จดตำบลบะฮี อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร และได้ประกาศจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบล เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2552 เป็นเทศบาลตำบลขนาดเล็ก โดย นายณัฐพงศ์ ไตรโยธี เป็นนายกเทศมนตรีตำบลบะหว้า
คำขวัญตำบลบะหว้า
จักจั่นเลิศรส ไข่มดสุดอร่อย มีไม่น้อยดอกกระเจียว สีเขียวแหล่งผักหวาน แลตระการเห็ดโคนดิน อุดมถิ่นวัฒนธรรม